โครงการระบบรถไฟฟ้าชานเมือง (สายสีแเดง)

  • รายละเอียดโครงการระบบรถไฟชานเมือง(สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ – รังสิต

เดิมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการระบบขนส่งทางรถไฟยกระดับในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้รับ การเร่งรัดให้ดำเนินการในสายเหนือ ช่วงบางซื่อ – รังสิตก่อน รวมทั้งพัฒนาสถานีรถไฟบางซื่อเป็นสถานีหลัก เพื่อลดจำนวนขบวนรถไฟเข้าสู่สถานีหัวลำโพงให้เหลือน้อยที่สุด ต่อมาได้มีการปรับขอบเขตโครงการให้เพิ่มปริมาณความจุของทางและการเดินรถที่ความเร็วสูงขึ้น สะดวก ปลอดภัย รวมทั้งพัฒนาสถานีบางซื่อให้เป็นสถานีกลาง โดยมีเป้าหมายพัฒนาให้ย่านพหลโยธินเป็นศูนย์กลางคมนาคมขนส่งของกรุงเทพมหานครด้านเหนือ เพื่อให้สอดคล้องกับแผนแม่บทการขนส่งมวลชนระบบรางในเขตกรุงเทพฯ และพื้นที่ต่อเนื่อง และเพื่อเป็นการสานต่อโครงการระบบการขนส่งทางราง ตามนโยบายรัฐบาล จึงได้มีการศึกษาและออกแบบรายละเอียดโครงการ และปรับแบบรายละเอียด เพื่อให้สามารถรองรับต่อการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่ใช้บริการในระบบรถไฟทางไกล รถไฟชานเมือง อีกทั้งมีขีดความสามารถในการเดินรถขนส่งผู้โดยสารและขนส่งสินค้าในโครงข่ายเดียวกัน และเชื่อมโยงการเดินทางของระบบรถไฟและโครงข่ายระบบขนส่งอื่นๆ อันเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสาธารณะให้ดีขึ้น เพื่อจูงใจให้ประชาชนมาใช้บริการ และประหยัดค่าเชื้อเพลิงการขนส่ง นับเป็นแนวทางแก้ปัญหาการขนส่งและจราจรอย่างยั่งยืน

  • แนวเส้นทางโครงการ

เริ่มต้นจาก กม.6+000 (จากหัวลำโพง) ประมาณ 1.8 กม. ทางทิศใต้ของสถานีบางซื่อ ไปตาม แนวเขตทางรถไฟในเส้นทางรถไฟสายเหนือ ผ่านเขต จตุจักร บางเขน หลักสี่ ดอนเมือง และไปสิ้นสุดที่สถานี รังสิต จังหวัดปทุมธานี ระยะทางยาวประมาณ 26.3 กิโลเมตร โดยในอนาคตอันใกล้นี้จะต่อขยายไปยังมหา วิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

  • ขนาดทาง

ขนาดทาง 1.000 เมตร (Meter Gauge) จำนวน 3 ทาง เชื่อมต่อกับทางรถไฟสายเหนือในปัจจุบัน

  • รูปแบบโครงสร้างทางรถไฟ

   

ก่อสร้างเป็นทางยกระดับ จากบางซื่อ (กม.6+000) ไปถึงดอนเมือง (กม.25+232) ระยะทาง 19.2 กม. และลดระดับลงอยู่ระดับพื้นดิน จากสถานีดอนเมือง (กม.25+232) ถึงรังสิต (กม.32+350) ระยะทาง 7.1 กม. โดยมีรั้วกั้นตลอดแนวจากดอนเมืองถึงรังสิต

  • สถานีรายทาง     เป็นสถานียกระดับ จำนวน 8 สถานี ประกอบด้วย

   

สถานีกลางบางซื่อ ( กม.7+800 )
ตั้งอยู่บริเวณชุมทางบางซื่อ ถนนเทอดดำริในปัจจุบัน

สถานีจตุจักร ( กม.10+275 )
ตั้งอยู่บริเวณถนนกำแพงเพชร 2 และถนนกำแพงเพชร 6 ใกล้กับบ้านพักนิคมรถไฟ กม.11  

สถานีบางเขน ( กม.13+281 )
ตั้งอยู่บริเวณแยกบางเขน ช่วงถนนกำแพงเพชร 6 ตัดกับถนนงามวงศ์วานตรงข้ามมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถนนวิภาวดีรังสิต

สถานีทุ่งสองห้อง ( กม.14+750 )
ตั้งอยู่บริเวณถนนกำแพงเพชร 6 และถนนวิภาวดีรังสิต ใกล้กองกำกับการสุนัขตำรวจ

สถานีหลักสี่ ( กม.17+943 )
ตั้งอยู่บริเวณถนนกำแพงเพชร 6 ทางด้านทิศเหนือ ของแยกหลักสี่ ตรงข้ามกับอาคารไอทีสแควร์
ติดถนนแจ้งวัฒนา

สถานีการเคหะ ( กม.19+500 )
ตั้งอยู่บริเวณถนนกำแพงเพชร 6 และถนนวิภาวดีรังสิต ใกล้แฟลตการเคหะฯ ดอนเมือง

สถานีดอนเมือง ( กม.21+525 )
ตั้งอยู่ตรงข้ามอาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานดอนเมือง บริเวณถนนกำแพงเพชร 6 และถนนวิภาวดีรังสิต ใกล้สถานีรถไฟดอนเมืองปัจจุบัน

สถานีรังสิต ( กม.30+347 )
ตั้งอยู่บริเวณถนนรังสิต – ปทุมธานี และถนนกำแพงเพชร 6 บริเวณหมู่บ้าน รัตนโกสินทร์ 200 ปี

สถานีที่จะก่อสร้างในระยะต่อไป ได้แก่ สถานีวัดเสมียนนารี (สถานียกระดับ) และสถานีหลักหก(สถานีระดับดิน)

สถานีวัดเสมียนนารี ( กม.12+340 )
ตั้งอยู่ระหว่างสถานีจตุจักรกับสถานีบางเขน บริเวณ ถนนกำแพงเพชร 6 ตรงข้ามวัดเสมียนนารี

สถานีหลักหก ( กม.27+477 )
ตั้งอยู่ระหว่างสถานีดอนเมือง และสถานีรังสิต บริเวณถนนกำแพงเพชร 6 ซึ่งเชื่อมต่อกับถนนเอกทักษิณ และถนนพหลโยธิน ใกล้หมู่บ้านเมืองเอก

  • รูปแบบสถานีรายทาง

สถานีรายทางจากบางซื่อ – รังสิต จะมีรูปแบบและลักษณะการใช้งานแตกต่างกันดังนี้

สถานีกลางบางซื่อ

  • ชั้นใต้ดิน (Basement Level)  เป็นพื้นที่สำหรับจอดรถประมาณ 1,700 คัน  โดยมีโถงเชื่อมต่อจากพื้นที่จอดรถ ขึ้นไปยังชั้นจำหน่ายตั๋วโดยสาร และมีทางเชื่อมต่อกับสถานีบางซื่อของระบบขนส่ง มวลชนรถไฟฟ้าใต้ดินของ รฟม.
  • ชั้นพื้นดิน     ประกอบด้วย
    1. โถงพักคอยและรับผู้โดยสาร
    2. พื้นที่ชั้นลอยสำหรับควบคุมระบบการเดินรถ และมีส่วนสำหรับต้อนรับบุคคลสำคัญ
    3. พื้นที่โถงสำหรับจำหน่ายตั๋วโดยสาร และจุดเชื่อมต่อไปยังสถานีบางซื่อของ รฟม.
    4. พื้นที่พาณิชยกรรม ร้านค้า
  • ชั้นที่ 2     เป็นชั้นชานชาลารถไฟทางไกล     รูปแบบชานชาลาตรงกลาง  จำนวน 6 ชานชาลา สามารถ ตั้งขบวนรถได้ 12 ขบวน
  • ชั้นที่ 3     เป็นชั้นชานชาลารถไฟชานเมือง   รูปแบบชานชาลาตรงกลาง จำนวน 6 ชานชาลา ระยะแรก เปิดใช้  2 ชานชาลา
สถานีประเภทที่ 1
          เป็นสถานียกระดับรองรับเฉพาะรถไฟฟ้าชานเมือง ได้แก่ สถานีจตุจักร สถานีวัดเสมียนนารี (ก่อสร้างในอนาคต) สถานีบางเขน สถานีทุ่งสองห้อง สถานีหลักสี่ และสถานีการเคหะ

  • ชั้นพื้นดิน ( Ground Floor Level )  เป็นพื้นที่สำหรับจอดรถรับ  – ส่งผู้โดยสารที่จะใช้บริการ
  • ชั้นที่ 2 ( Concourse Level )  เป็นชั้นจำหน่ายตั๋วโดยสาร และเป็นพื้นที่รองรับผู้โดยสาร
    ที่จะผ่านขึ้นไปยังชานชาลา
  • ชั้นที่ 3 ( CT Platform Level )  เป็นชั้นชานชาลารถไฟฟ้าชานเมือง รูปแบบชานชาลาด้านข้าง ( Side Platform )
สถานีประเภทที่ 2
          เป็นสถานียกระดับ รองรับทั้งรถไฟฟ้าชานเมืองและรถไฟทางไกล ได้แก่ สถานีดอนเมือง

  • ชั้นพื้นดิน :  เป็นพื้นที่สำหรับจอดรถรับ – ส่งผู้โดยสารที่จะใช้บริการ
  • ชั้นที่ 2 :  เป็นชั้นจำหน่ายตั๋ว  และเป็นพื้นที่รองรับผู้โดยสารที่จะผ่านขึ้นไปยังชานชาลารถไฟฟ้าชานเมืองและรถไฟทางไกล
  • ชั้นที่ 3 :  เป็นชั้นชานชาลารถไฟทางไกล ( LD Platform Level )  รูปแบบชานชาลาตรงกลาง ( Center Platform )
  • ชั้นที่ 4 : เป็นชั้นชานชาลารถไฟฟ้าชานเมือง  รูปแบบชานชาลาตรงกลาง
          สถานีประเภทที่ 3
          เป็นสถานีระดับดิน รองรับเฉพาะรถไฟฟ้าชานเมือง ได้แก่ สถานีหลักหก (ก่อสร้างในอนาคต)

  • ชั้นพื้นดิน : เป็นชั้นชานชาลาสำหรับรถไฟฟ้าชานเมือง รูปแบบชานชาลาด้านข้าง
  • ชั้นที่ 2 : เป็นชั้นจำหน่ายตั๋ว  และพื้นที่รองรับผู้โดยสารที่จะผ่านลงไปยังชานชาลา
          สถานีประเภทที่ 4
         เป็นสถานียกระดับ รองรับรถไฟฟ้าชานเมือง และระดับดิน รองรับรถไฟทางไกล ได้แก่ สถานีรังสิต

  • ชั้นพื้นดิน : เป็นชั้นชานชาลาสำหรับรถไฟทางไกล รูปแบบชานชาลาตรงกลาง และพื้นที่จอดรถรับ- ส่งผู้โดยสาร
  • ชั้นที่ 2 : เป็นชั้นจำหน่ายตั๋ว และพื้นที่รองรับผู้โดยสารที่จะผ่านไปยังชานชาลารถไฟทางไกล และรถไฟฟ้าชานเมือง
  • ชั้นที่ 3 : เป็นชั้นชานชาลาสำหรับรถไฟฟ้าชานเมือง รูปแบบชานชาลาตรงกลาง
  • ถนนเลียบทางรถไฟ (Local Road)
           ก่อสร้างเป็นถนน 4 ช่องทางจราจร เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนและแบ่งเบาการจราจรในสายหลัก ที่มีการตัดผ่านซอย แยก และถนนสายหลักต่างๆ ได้แก่

  1. ช่วงบางซื่อ – หลักสี่ อยู่ทางซ้ายของทางรถไฟปัจจุบัน
  2. ช่วงหลักสี่ – ดอนเมือง อยู่ระหว่างทางรถไฟใหม่ และทางรถไฟปัจจุบัน
  3. ช่วงดอนเมือง – รังสิต อยู่ทางซ้ายของทางรถไฟปัจจุบัน

โดยมีสะพานข้ามถนนเลียบทางรถไฟบริเวณทางผ่านเปรมประชา และบริเวณซอยพหลโยธิน 87

  • รูปแบบการเดินรถ
           สามารถรองรับการเดินรถไฟ 3 ระบบในโครงสร้างเดียวกัน คือระบบรถไฟทางไกล ระบบรถไฟฟ้าชานเมือง และระบบรถไฟขนส่งสินค้า โดยมีโครงข่ายเกี่ยวเนื่องและสัมพันธ์กับโครงการระบบรถไฟ ชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ – ตลิ่งชัน จึงได้ออกแบบให้ใช้ศูนย์ควบคุมการเดินรถ และศูนย์ซ่อมบำรุงร่วมกัน ที่ย่านสถานีกลางบางซื่อ และได้จัดรูปแบบการเดินรถของ รฟท. ในปัจจุบัน ได้แก่ รถไฟทางไกล รถไฟชานเมือง และรถสินค้าที่ลากจูงด้วยหัวรถจักรดีเซล ให้เดินรถร่วมกับรถไฟชานเมืองรูปแบบใหม่ ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า โดยติดตั้งระบบควบคุมการเดินรถอัตโนมัติ (Automatic Train Operation ATO) ในรถแบบใหม่ และติดตั้งระบบ Automatic Train Protection (ATP) เพิ่มเติมบนหัวรถจักรดีเซล เพื่อให้ขบวนรถทั้งสองระบบเดินรถร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย
ผู้ใช้บริการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ – รังสิต สามารถเปลี่ยนระบบไปยังระบบขนส่งอื่นหรือเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง (ช่วงบางซื่อ – บางใหญ่) รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (ช่วงบางซื่อ – หัวลำโพง) และรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ – ตลิ่งชัน เข้าสู่ใจกลางเมืองได้อย่างสะดวกสบาย
  • วงเงินลงทุนโครงการ
  • วงเงินลงทุนตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อ 10 มีนาคม 2552 เป็นเงินจำนวน 75,548 ล้านบาท ประกอบด้วย
    1.   ช่วงบางซื่อ-รังสิต
    1.1   เงินกู้ JICA เป็นเงินจำนวน  63,876.89 ล้านบาท
    1.2   เงินงบประมาณแผ่นดิน เป็นเงินจำนวน  5,428.11 ล้านบาท
    2.   ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน
    2.1   เงินกู้ในประเทศ เป็นเงินจำนวน  6,243.00 ล้านบาท
    (หมายเหตุ  :  แก้ไขจากข้อมูลเดิมที่คลาดเคลื่อน)
  • ระยะเวลาดำเนินการ      2554-2559
  • ปริมาณงาน  :

สัญญาที่ 1 : งานโยธาสำหรับสถานีกลางบางซื่อ และศูนย์ซ่อมบำรุง ประกอบด้วย

    1. สถานีกลางบางซื่อ องค์ประกอบอาคารมีดังนี้ ชานชาลารถไฟฟ้าชานเมือง 4 ชานชาลาและชานชาลาสำหรับอนาคต 8 ชานชาลา ทั้งหมดอยู่ชั้น 3 ชานชาลารถไฟทางไกล 12 ชานชาลาบนชั้น 2 ของสถานี ชั้นจำหน่ายตั๋วโดยสารพร้อมอาคารทางเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานครที่ชั้นล่าง และที่จอดรถใต้อาคารสถานี
    2. สถานีจตุจักรพร้อมอาคารสถานี
    3. ทางรถไฟยกระดับบนโครงสร้างคานสำเร็จรูปทรงกล่องพาดบนหัวเสาคอนกรีตหรือกรอบคานเสาคู่ทางรถไฟยกระดับบนฐานเสาเข็มจาก กม.6+600 ถึง กม.12+201.700
    4. ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าชานเมือง ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟทางไกล ลานจอดรถไฟ (ไม่รวมงาน วางราง) และอาคารอื่นๆ ที่สัมพันธ์กับการควบคุมการเดินร
    5. ถนน สะพานยกระดับและระบบระบายน้ำ
    6. งานดัดแปลงปรับปรุงหรือรื้อย้ายโครงสร้างโครงการโฮปเวลล์

สัญญาที่ 2 : งานโยธาสำหรับทางรถไฟบางซื่อ-รังสิต ประกอบด้วย

    1. สถานี 6 สถานีพร้อมอาคารสถานี (สถานีบางเขน ทุ่งสองห้อง หลักสี่ การเคหะ ดอนเมืองและรังสิต)
    2. ทางรถไฟยกระดับบนโครงสร้าง คานสำเร็จรูปทรงกล่องพาดบนหัวเสาคอนกรีตหรือกรอบคานเสาคู่ ทางรถไฟยกระดับบนฐานเสาเข็มจาก กม.12+201.700 ถึง กม.25+232 และทางรถไฟระดับดิน จาก กม.25+232 ถึง กม.32+350
    3. ถนนเลียบทางรถไฟและระบบระบายน้ำ
    4. งานดัดแปลงปรับปรุงหรือรื้อย้ายโครงสร้างโครงการโฮปเวลล์ และงานโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการขยายสถานีวัดเสมียนนารีและหลักหกในอนาคต

สัญญาที่ 3 : งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกลฯ สำหรับระบบรถไฟช่วงบางซื่อ-รังสิต

1. ระบบรถไฟช่วงบางซื่อ-รังสิต ประกอบด้วย

  1. งานวางรางขนาด 1 เมตร (meter gauge)
  2. ระบบไฟฟ้ากำลังเพื่อรถไฟฟ้า
  3. ระบบควบคุมการเดินรถและระบบอาณัติสัญญาณ
  4. ระบบสื่อสารโทรคมนาคม
  5. ระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ
  6. สิ่งอำนวยความสะดวกของศูนย์ซ่อมบำรุงและอุปกรณ์
  7. ระบบรักษาความปลอดภัยควบคุมทางเข้าออกและระบบปฏิบัติการพร้อมด้วยระบบสารสนเทศ
  8. สถานีจ่ายไฟและหม้อแปลงไฟฟ้าอัตโนมัติ
  9. รื้อถอน ปรับปรุง ดัดแปลง และ/หรือย้ายรางเดิม ปรับระดับทางข้ามและอาณัติสัญญาณ/สื่อสารโทรคมนาคม
  10. การจัดหาตู้รถไฟฟ้าและปรับปรุงระบบความปลอดภัยการเดินรถ (ATP) ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
  11. จัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมพร้อมคู่มือแนะนำการปฏิบัติของระบบเดินรถ

2. ระบบรถไฟช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน (ใช้เงินกู้ในประเทศ) ประกอบด้วย

  1. ระบบไฟฟ้ากำลังเพื่อรถไฟฟ้า
  2. ระบบควบคุมการเดินรถและระบบอาณัติสัญญาณ
  3. ระบบสื่อสารโทรคมนาคม
  4. ระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ
  5. ระบบรักษาความปลอดภัยควบคุมทางเข้าออกและระบบปฏิบัติการพร้อมด้วยระบบสารสนเทศ
  6. ติดตั้งระบบหม้อแปลงไฟฟ้าอัตโนมัติ
  7. รื้อถอน ปรับปรุง ดัดแปลง และ/หรือย้ายรางเดิม ปรับระดับทางข้ามและอาณัติสัญญาณ/สื่อสารโทรคมนาคม
  8. จัดหาตู้รถไฟฟ้า
  • ผลประโยชน์ที่จะได้รับ
  1. ลดปัญหาการจราจรที่ติดขัดบริเวณจุดตัดทางรถไฟกับถนนจำนวน 8 จุด และลดการเกิดอุบัติเหตุได้อย่างสิ้นเชิง
  2. สามารถใช้ประโยชน์เพื่อการเดินรถไฟทางไกลสายเหนือ และสายตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรองรับการเดินรถที่มีอยู่ในปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. สามารถใช้ประโยชน์เพื่อการเดินรถระบบรถไฟชานเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ซึ่งจะช่วยลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงของประเทศได้อย่างมาก และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  4. ระบบขนส่งทางรถไฟที่สะดวก ทันสมัย ตรงเวลา จะจูงใจให้คนหันมาใช้บริการรถไฟมากขึ้น โดยคาดว่าเมื่อเดินรถระบบรถไฟฟ้าจะสามารถรองรับปริมาณผู้โดยสารจากรังสิตสู่บางซื่อไม่น้อยกว่า 306,608 คน/วัน ในปีที่เปิดดำเนินการ และเมื่อขยายโครงการจากบางซื่อไปชุมทางบ้านภาชีในอนาคต จะสามารถรองรับปริมาณผู้โดยสารที่คาดว่าจะมีประมาณ 449,080 คน/วัน
  5. สามารถใช้ประโยชน์จากโครงสร้างเดิมของโฮปเวลล์

ที่มา http://www.railway.co.th/resultproject/project_redline.asp?redline=3

ข้อความนี้ถูกเขียนใน ข่าวสารที่เกี่ยวกับโปรเจค คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น